ประวัติวัดบ้านหนองปลาดุก


1.               ประวัติความเป็นมา
                แรกเริ่มเดิมที(จากการสัมภาษณ์ พ่อสมยงค์ โง่นชาลีและพ่อผิว ยาริพันธ์(2543),ประวัติหนองปลาดุก)ปี ..2512 ครอบครัวของพ่อทอง  คำนนท์ พ่อบุญตาได้อพยพครอบครัวมาจากบ้านป่งแดง อำเภอมุกดาหาร(แต่ก่อนยังเป็นจังหวัดนครพนม) เข้ามาอยู่ในเขตดงเซกา ซึ่งเป็นป่าดงดิบมีสัตว์ป่ามากมายอาศัยอยู่ โดยมาบุกรุกถางป่าเพื่อมาทำมาหากิน ในบริเวณที่ปัจจุบัน เรียกว่าหนองปลาดุก สาเหตุที่ตั้งชื่อหมู่บ้านว่าหนองปลาดุกนั้น ในหน้าแล้งมีชาวบ้านไปหาปลาและได้พบหนองน้ำที่กำลังแห้งขอดอยู่ห่างจากหมู่บ้านไม่ไกลมากนักชาวบ้านจึงได้วิดน้ำหาปลา เมื่อน้ำแห้งลงไม่พบปลาชนิดอื่นเลย พบแต่ปลาดุกเป็นจำนวนมาก ผู้เฒ่าผู้แก่จึงได้ตั้งชื่อหมู่บ้านว่าหมู่บ้านหนองปลาดุก จากนั้นได้มีครอบครัวอพยพย้ายถิ่นฐานเข้ามามีจำนวนเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ในระยะแรกส่วนใหญ่มาจากอำเภอคำชะอี และ อำเภอมุกดาหารต่อมาประมาณปี  .. 2517 ครอบครัวของพ่อทองได้ย้ายจากหนองปลาดุก  มาทางทิศตะวันออกประมาณ 1 กิโลเมตร มารวมกับผู้ที่ย้ายเข้ามาใหม่โดยมีครอบครัวพ่อเหลื่อม ปทุมวัน พ่อเคน โง่นชาลี พ่อทองสา สุครีพ พ่อดล พ่อบุญตา พ่อขุน พ่อแข็ง พ่อขาว พ่อดม พ่อตุ๋ย พ่อหนู พ่อเส็ง พ่อเล่ง พ่อสิงห์ พ่อมุล มาอยู่รวมกันเขตพื้นที่เนินที่เรียกว่าโนนปืนใหญ่ (เป็นห้างปืนใหญ่ที่นายพรานทำไว้ในสมัยนั้น)              อำเภอ เมืองนครพนมตอนนั้นมี นายวิชัย ภูทอง เป็นนายอำเภอได้ออกมาดูชาวบ้านอยู่กันอย่างไร และได้อนุญาต ให้ชาวบ้านมาทำมาหากินได้ในปี .. 2523 2524 ได้มีชาวบ้านจากหลายจังหวัดจากภาคอีสาน ได้แก่ จังหวัดอุบลราชธานี ศรีษะเกษ กาฬสินธุ์ หนองคาย สกลนคร อุดรธานี เลย และอื่นๆ ได้อพยพถิ่นฐานเข้ามาเป็นจำนวนมาก จนกลายเป็นหมู่บ้านใหญ่ จึงได้ตั้งชื่ออย่างไม่เป็นทางการว่า บ้านหนองปลาดุก และต่อมาได้มีเจ้าหน้าที่ป่าร่วมกับตำรวจมาจับกุมผู้นำรวม 18 คนไปกักขังไว้ในข้อหาบุกรุกป่าชาวบ้านที่เหลือได้ประชาคมเลือกพ่อผิว ยาริพันธ์ แม่ทองเลื่อม เพ็งใส แม่ผม สุครีพ และอีกหลายคนเป็นตัวแทนหมู่บ้านไปขอความช่วยเหลือจาก .. วีรวร  สิทธิธรรม ให้ไปประกันตัวชาวบ้าน                                            
ต่อมาตัวแทนหมู่บ้าน ได้ยื่นฎีกาต่อองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่ตำหนักภูพาน ราชนิเวศน์ เรื่องที่ทำกินและอยู่อาศัยองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระดำรัส กับนายอำเภอเมืองนครพนมว่า ให้ชาวบ้านอยู่ทำมาหากินได้ ปี 2524 ทรงโปรดเกล้าให้มีโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน โดยจ่าสิบเอกสุเทพ ศักดิลาบและ ชาวบ้านได้รวมใจก่อสร้างอาคารเรียนชั่วคราวแบบโล่งหลังคามุงด้วยหญ้าแฝก และปี 2526 ทรงโปรดเกล้าให้พลเอกมานะ รัตนะโกเศษ นำทหารช่างมาสร้างโรงเรียนให้หมู่บ้าน หนองปลาดุก เป็นอาคารปูน สองชั้น ที่ควบคุมการก่อสร้างคือ พลโท จรวย  วงสายัณห์ (ยศในสมัยนั้น) ใช้เวลาก่อสร้างอาคารเป็นเวลา สามเดือน ได้ตั้งชื่ออาคารหลังนี้ว่า อาคารรัตนะโกเศษ ปี 2526 ตำรวจตระเวนชายแดน ได้ถ่ายโอนให้กระทรวงศึกษาธิการ เป็นผู้รับผิดชอบ                 
ในปี 2530 ได้รับการตั้งหมู่บ้านอย่างเป็นทางการตามพระราชบัญญัติลักษณะการปกครองท้องที่ เป็นหมู่บ้าน หนองปลาดุกหมู่ที่ 11 ตำบลบ้านผึ้ง อำเภอเมือง จังหวัดนครพนม
ผู้ที่ได้รับเลือกเป็นผู้ใหญ่บ้านได้แก่        นายฐิติพงษ์                             จันทรานุรักษ์      เป็นผู้ใหญ่บ้าน(จังหวัดนนทบุรี)                                                                                                                                                              นายคำบุ                                     แสนนาให้            เป็นผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน (จังหวัดหนองคาย)                                                                                                                                                      นายบัวลา                  บุญมั่งมี                 เป็นผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน(จังหวัดศรีษะเกษ)                                                                       บ้านหนองปลาดุก หมู่ที่ 11 ของตำบลบ้านผึ้งอำเภอเมืองจังหวัดนครพนมต่อมา เมื่อมีประชากรหนาแน่นขึ้น ก็แบ่งแยกหมู่บ้านออกตามนโยบาย ขอรัฐหรือพระราชบัญญัติลักษณะการปกครองท้องที่ โดยแยกออกมาจากหมู่ที่ 11 อีก 4 หมู่ มีดังนี้                                                                                                                                                                                                                 แยกออกเป็นหมู่ที่ 18 ในเดือนมีนาคม  พุทธศักราช 2541                                                                                                                                                                                                        แยกออกเป็นหมู่ที่ 20 ในเดือนมีนาคม  พุทธศักราช 2542                                                                                                                                                                                                               แยกออกเป็นหมู่ที่ 21 ในเดือนมีนาคม  พุทธศักราช 2543                                                                                                                                                                                                        แยกออกเป็นหมู่ที่ 22 ในเดือนมีนาคม  พุทธศักราช 2544
บ้านหนองปลาดุกหมู่ที่ 21 ได้มีการเลือกตั้งผู้ใหญ่บ้านเป็นครั้งแรก   เมื่อวันที่ 18 สิงหาคม พุทธศักราช 2543 ผู้ที่ผ่านการเลือกตั้งได้แก่                                                                       นางละอองศรี      พิสมัย    เป็นผู้ใหญ่บ้าน                                                                                                                                                                                                                                    นายแหลม  วรรณะภักดี    เป็นผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน                                                                                                                                                                                                                                นางหลอม ไร่สงวน     เป็นผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน
ส่วนด้านการเมือง ได้มีการเลือกตั้งสมาชิกองค์การบริหารส่วนตำบล เป็นครั้งแรกเดือน กันยายน พุทธศักราช 2543 ผู้ที่ผ่านการคัดเลือกได้แก่                                                       นายประดุล                                        ลาพิมพ์                                                                                                                                                                                                                                                นายสลัด                                                บุญเรืองนาม
เดือนเมษายน 2544 ได้มีการคัดเลือกตั้งสมาชิกองค์การบริหารส่วนตำบลขึ้นอีกครั้ง ผู้ที่ผ่านการคัดเลือกตั้งได้ ส.อบต 2 คนคือ นายสุกัณฑ์ ศรีสุข และนายบุญร่วม อุณาศรี ในวันที่ 31 เดือนกรกฎาคม พุทธศักราช2548 ได้มีการเลือกตั้งสมาชิกองค์การบริหารส่วนตำบลขึ้นมาใหม่ตามวาระ ผู้ที่ผ่านการเลือกตั้งได้แก่                   นายสุกัณฑ์  ศรีสุข             และ    นายบุญร่วม  อุณาศรี
วันที่ 5 เดือนสิงหาคม พุทธศักราช 2548 ได้มีการเลือกตั้งผู้ใหญ่บ้าน นางละอองศรี พิสมัยเป็นผู้ใหญ่บ้าน 2548-2553                                                                       วันที่ 21 เดือนกันยายน พุทธศักราช 2553 ได้มีการเลือกตั้งผู้ใหญ่บ้านอีกครั้งผู้ที่ผ่านการคัดเลือกตั้งได้แก่                                                                                                                                      นายสุกัณฑ์          ศรีสุข                     ถึงปัจจุบัน                                                                                                                                                                                                                            นายประดุลย์                    ลาพิมพ์                 ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน  ฝ่ายปกครอง                                                                                                                                                                         นายประยูร                            ฝอยทอง                ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน  ฝ่ายปกครอง                                                                                                                                                                         นายโชคชัย                         วังคะฮาต           ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน               ฝ่ายรักษาความสงบ                                                                                                                                                                นายสลัด                                บุญเรืองนาม        .อบต                                                                                                                                                                                                                        นายร่วม                                 อุณาศรี                   .อบต
นามสกุลหลัก(ไม่มี) เพราะประชาชนได้อพยพมาจากหลายๆจังหวัด จึงทำให้ไม่มีนามสกุลหลัก

2 . สภาพทางภูมิศาสตร์
บ้านหนองปลาดุก(แผนพัฒนาหมู่บ้าน หนองปลาดุก ,2554) หมู่ที่21 พื้นที่ ขนาด 3,818.75 ไร่ หรือ 6.11 ตารางกิโลเมตร  ภูมิประเทศเป็นที่ราบสูงสลับเนินดินและที่ราบริมลำห้วยโครงสร้างของดินเป็นเหนียวปนทรายบางแห่งเป็นลูกรังและแม่รัง มีฝนตกชุกช่วงเดือนพฤษภาคมถึงเดือนกันยายน   ส่วนช่วงเวลาระหว่างเดือนตุลาคมไปจนถึงเดือนเมษายนจะแห้งแล้งโดยในช่วงแล้งจะมีสภาพออากาศหนาว แล้ง ร้อนตามลำดับ     การประกออบอาชีพ ส่วนมากเป็นการเกษตรอาศัยน้ำฝน ผู้คนอพยพไปทำงานในต่างถิ่น ในระยะที่ว่างจากการทำนา โดยเฉพาะช่วงแล้ง ส่วนมาก จะลงกรุงเทพมหานครและภาคใต้หรือตามเมืองใหญ่ต่างๆ
                3. แหล่งน้ำ    ลำห้วยหินกอง  และ  ห้วยเซกาได้รับการขุดลอกแล้ว      
4.               จำนวนประชากร รวมทั้งสิ้น 597 คน แยกเป็นชาย 294 คน หญิง 303 คน
5.               จำนวนครัวเรือน 132 ครัวเรือน
6.              ประกอบอาชีพ
6.1      อาชีพหลัก
(1)        เกษตรกรรม(ทำสวนยางพารา/ทำนา/ทำสวน/เลี้ยงสัตว์) 121 ครัวเรือน
(2)       ค้าขาย  4 ครัวเรือน
(3)       ทำงานประจำ/รับราชการ 3 ครัวเรือน
(4)       รับจ้าง 4 ครัวเรือน


6.2      อาชีพรอง
(1)       ทำสวนครัว   35 ครัวเรือน
(2)       ทอผ้า             11 ครัวเรือน
(3)       จัดสาน           3 ครัวเรือน
7.  ว่างงาน  -   คน
8.  หมู่บ้านมีรายได้  15,640,400 บาท/ปี รายจ่าย 15,732,000 บาท/ปี มีหนี้สิน 5,640,050 บาท                 
               9.  รายได้เฉลี่ยของประชากร(ตามเกณฑ์  จปฐ. ปี  2555 จำนวน  26,198  บาท/ปี                                                                                                                                                                             ครัวเรือนยากจน(รายได้ไม่ถึง 23,000 บาท/คน/ปี) ปี 2555  จำนวน  -  ครัวเรือน
10.  จำนวนกลุ่มกิจกรรม/อาชีพ มีจำนวน 6 กลุ่ม ดังนี้
กลุ่มทอผ้า                                    จำนวนสมาชิก  17  คน                                                                                                                                         2  กลุ่มสตรีถาวรพัฒนา                     จำนวนสมาชิก  111  คน                                                                                                                                            3  กลุ่มสานตะกร้า                              จำนวนสมาชิก  18  คน                                                                                                                                            4  กลุ่มช่างเฟอร์นิเจอร์                      จำนวนสมาชิก  15  คน                                                                                                                                            5  กลุ่มไม้สลักตอกเรือ                       จำนวนสมาชิก  9  คน                                                                                                                                            6  กลุ่มแม่บ้าน                                     จำนวนสมาชิก  45  คน  
            11.   กองทุน ในหมู่บ้านมีจำนวน 3 กองทุนดังนี้                                                                                                                                                                                                                                                       ชื่อกองทุน กองทุนหมู่บ้านออมสิน         มีงบประมาน    2,300,000  บาท                                                                                                                                                                                ชื่อกองทุน กองทุนหมู่บ้าน ธกส               มีงบประมาณ   1,000,000  บาท                                                                                                                                                                     ชื่อกองทุน กองทุนแม่ของแผ่นดิน          มีงบประมาณ       28,000  บาท                                                                                                                                                                               กลุ่มเฉพาะกีจ  ฌาปณกีจ สงเคราะห์ผู้เสียชีวิต                  120,000 บาท

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น